จากวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม ด้วยนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง โดยการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S-Curve) จากเดิมเป็นการพัฒนาในรูปแบบเรียกว่า New S-Curve ซึ่งเป็นรูปแบบของการ ลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี ในอุตสาหกรรมอนาคตเหล่านี้ให้เป็นกลไก ที่สําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของ ประเทศ ซึ่งต้องมีการ พัฒนากําลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Workforce) ซึ่งประเทศไทยยังมีความขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงที่จะไปตอบสนองภาคอุตสาหกรรม ไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างเพียงพอ ด้วยเหตุนี้ในปี 2561 ทางรัฐบาลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ยื่นข้อเสนอเพื่อสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศดังกล่าว ในชื่อของ "โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง สำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบายThailand 4.0 และการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย (ปี พ.ศ. 2561-2565)"
ในการนี้ กลุ่มอาจารย์ที่ทำวิจัยทางด้าน วิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาคณิตศาสตร์และสถิติ ร่วมกับ อาจารย์จากวิทยาลัยนวัตกรรม มีความเห็นตรงกันว่า วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) นวัตกรรม (Innovation) และ การแปรรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญที่กำลังจะเข้ามาในประเทศไทย จึงได้ช่วยกันร่างหลักสูตรขึ้น โดยทางกลุ่มอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเน้นทางด้าน วิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งจะเป็นการสอนที่เน้นทางด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และ การเขียนโปรแกรม โดยตั้งชื่อหลักสูตรว่า "หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล (Data Science and Innovation)" ส่วนกลุ่มอาจารย์ทางวิทยาลัยนวัตกรรม จะเน้นทางด้านการแปรรูปทางดิจิทัล โดยตั้งชื่อหลักสูตรว่า "หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation and Innovation)" โดยทั้งสองคณะได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือการจัดการเรียนการสอน
เดิม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล (Data Science and Innovation) สังกัดอยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามสังกัดเดิมของกลุ่มอาจารย์ผู้ก่อตั้งหลักสูตร ต่อมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนโยบายที่อยากให้การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเป็นการบูรณาการระหว่าง สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ประกอบกับ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเป็นแบบโมดูล และเป็นหลักสูตรที่บูรณาการศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และ ธุรกิจ จึงได้ย้ายสังกัดจาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาอยู่ที่ วิทยาลัยสหวิทยาการ (College of Interdisciplinary Studies) ซึ่งเป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ที่เดิมเป็นการบูรณาการความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ ปรัชญา รัฐศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ ซึ่งนับว่ามีความสอดคล้องกัน โดยย้ายมาสังกัดที่วิทยาลัยสหวิทยาการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563 ตามมติของการประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 11/2563 ลงวันที่ 28 กันยายน 2563
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูลมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูลที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งหลักสูตรจัดการศึกษาแบบบูรณาการกับการทำงาน CWIE (Cooperative and Work Integrated Education) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่เป็นพันธมิตรกับหลักสูตร โดยบูรณาการศาสตร์ความรู้ ทั้ง 4 ศาสตร์วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และนวัตกรรมธุรกิจ เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ประกอบด้วย การออกแบบ วางแผน วิเคราะห์ สรุปผล และ การนำเสนอ สำหรับใช้พยากรณ์และตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ตามสภาพความเป็นจริงเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กร พร้อมทั้งมีทักษะทางสังคมที่ส่งเสริมศักยภาพในการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาประเทศได้อย่างกว้าง รวมถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม ที่สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตอบสนองต่อการพัฒนาของประเทศ
จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเป็นแบบ โมดูล (Modular Learning) ซึ่งภายในแต่ละโมดูล จะประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ที่ฝึกฝนผู้เรียนให้ได้ สมรรถนะ ตรงกับองค์กรจากภาคอุตสาหกรรมที่ร่วมออกแบบหลักสูตร โดยทุกโมดูลจะมี Capstone project เพื่อแสดงเห็นพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละโมดูล
ตัวอย่างแผนการเรียนของหลักสูตร
ตัวอย่างแผนการเรียนของหลักสูตร
ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต อาจารย์ ดร.ทวีวัฒน์ เหลืองวิริยะ | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ E-Mail : krachada@tu.ac.th ดาวน์โหลด CV : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสิศ ลิ้มประเสริฐ E-Mail : wasit@tu.ac.th ดาวน์โหลด CV : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสิศ ลิ้มประเสริฐ | |
อาจารย์ ดร.สมเกียรติ โกศลสมบัติ E-Mail : somkiatk@tu.ac.th ดาวน์โหลด CV : อาจารย์ ดร.สมเกียรติ โกศลสมบัติ | |
อัพเดทเมื่อ 31 ธันวาคม 2567
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 4 ปี 398,655 บาท
07-1 แบบคำร้องขอผ่อนผันค่าลงทะเบียน
07-2 แบบคำร้องเพื่อขอเข้าฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงาน
07-3 แบบคำร้องขอเทียบโอนหน่วยกิต
07-4 ใบลาพักการศึกษาสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
07-6 หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง
07-7 คำรับรองการศึกษาครบตามหลักสูตรชั้นปริญญาตรี
07-8 คู่มือปฐมนิเทศนักศึกษา ปีการศึกษา 2566
07-9 เอกสารประกอบการเบิกค่าเทอม
07-10 เเบบฟอร์มประจายโครงสร้างสำหรับนักศึกษา ปีการศึกษา 2561
07-11 แบบฟอร์มกระจายโครงสร้างสำหรับนักศึกษา ปีการศึกษา 2566