Loading...

1. ความเป็นมาของหลักสูตร

     หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ ปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (พ.ศ.2561) โดยวิทยาลัยสหวิทยาการมีแนวความคิดที่จะพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ให้เป็นหลักสูตรนานาชาติที่ผสมผสานระหว่างจิตวิญญาณแห่งธรรมศาสตร์และนโยบายพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นสร้างความโดดเด่นให้แก่หลักสูตรนานาชาติดังกล่าว เนื้อหาสาระจะมุ่งเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับ “ปรัชญา การเมือง และเศรษศาสตร์ในบริบทอนุภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย” เพื่อให้สอดคล้องกับพลวัตรของศตวรรษที่ 21 ที่ได้รับสมญาว่าเป็น “ศตวรรษแห่งเอเชีย (Asian Century)” และเพื่อรองรับนักศึกษาจากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอื่นที่มีความสนใจหลักสูตรการศึกษานานาชาติทางด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ที่เน้นบูรณาการสังคมศาสตร์กับการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ทางสังคมภายใต้บริบท Asian Century


2. รายละเอียดหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

   นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชา รวมไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตรดังนี้

   1) วิชาศึกษาทั่วไป (General Education) ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

   2) วิชาเฉพาะ (Concentration) ไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต

      2.1) วิชาแกน (Major) ไม่น้อยกว่า 66 หน่วยกิต

         2.1.1) กลุ่มวิชาบังคับ (Core Course) 27 หน่วยกิต

         2.1.2) กลุ่มวิชาบังคับเลือก (Selective Core Course) 30 หน่วยกิต

         2.1.3) ภาคนิพนธ์และฝึกปฏิบัติ (Thesis and Internship) 9 หน่วยกิต

      2.2) กลุ่มวิชาโท (Minor) ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

      นักศึกษาจะต้องออกแบบกลุ่มวิชาโทภายในหลักสูตร หรือ เลือกกลุ่มวิชาโท นอกหลักสูตร จำนวน 1 กลุ่มวิชา ดังนี้

         2.2.1) กลุ่มวิชาโทภายในหลักสูตร

         - กลุ่มวิชาโทปรัชญายุคสมัยใหม่ (Modern Philosophy)

         - กลุ่มวิชาโทนโยบายสาธารณะและการเมืองโลก (Public Policy and Global Politics)

         - กลุ่มวิชาโทเศรษฐศาสตร์กับการศึกษาการพัฒนา (Economics and Development Studies)

         2.2.2) กลุ่มวิชาโทภายนอกหลักสูตร

         - กลุ่มวิชาโทของหลักสูตรนานาชาติอื่นในระดับปริญญาตรีภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

         - กลุ่มวิชาโทอื่นที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมหาวิทยาลัย

   3) กลุ่มวิชาเลือกเสรี (Free Elective Course) ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต


เส้นทางอาชีพในอนาคต

   หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ เข้ามาในการเรียนการสอนเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจสภาวะของโลกยุคปัจจุบันและโลกแห่งอนาคต ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย การบริหารจัดการ และพื้นฐานทางปรัชญา ตลอดจนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จึงสามารถทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชนได้อย่างกว้างขวาง เช่น

   นักพัฒนาสังคม

   นักการเมือง

   ปลัดอำเภอ

   นักวิชาการศึกษา

   นักการทูต และเจ้าหน้าที่ในองค์กรระหว่างประเทศ

   เจ้าหน้าที่บุคคล

   ผู้สื่อข่าว

   นักธุรกิจ

   เจ้าของกิจการและอาชีพอิสระอื่นๆ

   นักวิชาการและนักวิจัย


ค่าเล่าเรียน

   ประมาณ 69,000 บาทต่อภาคการศึกษา หรือ 483,000 บาทตลอดหลักสูตร


ทุนการศึกษา

   มีการจัดสรรทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ซึ่งหลักสูตรจะประกาศแจ้งนักศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยมีการประชาสัมพันธ์มา


 
3. การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา

ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการรับเข้าปีการศึกษา 2568

เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2568 ในวันที่ 15 ตุลาคม 2567

ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: https://tinyurl.com/ppeip68annoucment
Admission Details in English: https://www.ppetuinternational.org/admission 

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาภาคสุดท้ายของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทั้งในและต่างประเทศตามระบบการศึกษาของประเทศไทยหรือต่างประเทศ
  • ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือมีผลสอบอื่น ๆ ตามแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาของ มธ.

 

รอบ Inter Portfolio 1 (30 ที่นั่ง) : 15 ต.ค. –15 ธ.ค. 67

สมัครทางออนไลน์ผ่านแบบฟอร์มhttps://forms.gle/wHyqvP3A5vZ9pJMd9

คะแนนสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษขั้นต่ำ

    TU-GET PBT 460 คะแนน/

    TU-GET CBT 70 คะแนน

    IELTS 5.0 

    TOEFL (paper-based) 450 คะแนน 

    หรือ TOELF (internet-based) 45 คะแนน

Portfolio

คุณสมบัติอื่น ๆ ความสามารถพิเศษที่โดดเด่นในด้าน กีฬา วิชาการ ความเป็นผู้นำ และ การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม

 

รอบ Inter Portfolio 2 (10 ที่นั่ง) : 15 ม.ค. – 15 มี.ค. 68

ยังไม่เปิดสมัครทางออนไลน์ผ่านแบบฟอร์ม

คะแนนสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษขั้นต่ำ

       TU-GET 500 คะแนน/TU-GET CBT 74 คะแนน 

        IELTS 6.0 

        TOEFL (paper-based) 500 คะแนน หรือ 

        TOEFL (internet-based) 61 คะแนน

คะแนนการทดสอบความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ SAT I (EBRW) หรือ GSAT (Reading, Writing and Language) ขั้นต่ำ 450 คะแนน

คะแนนสอบ SAT I (Math) หรือ GSAT (Math) ขั้นต่ำ 600

หรือคะแนนสอบรวมทั้งสองพาร์ท SAT I หรือ GSAT ขั้นต่ำ 1000 คะแนน

การคัดเลือกเข้าศึกษาจะพิจารณาจากผู้สมัครที่มีคะแนนสอบ SAT I หรือ GSAT สูงสุด  

 

รอบ Inter Program Admission 1 (5 ที่นั่ง) : 11 เม.ย. –6 พ.ค. 68

ยังไม่เปิดสมัครทางออนไลน์ผ่านแบบฟอร์ม

คะแนนสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษขั้นต่ำ

   TU-GET 500 คะแนน/TU-GET CBT 74 คะแนน 

   IELTS 6.0 

   TOEFL (paper-based) 500 คะแนน หรือ 

   TOEFL (internet-based) 61 คะแนน

คะแนนการทดสอบความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ SAT I (EBRW) หรือ GSAT (Reading, Writing and Language) ขั้นต่ำ 450 คะแนน

คะแนนสอบ SAT I (Math) หรือ GSAT (Math) ขั้นต่ำ 600

หรือคะแนนสอบรวมทั้งสองพาร์ท SAT I หรือ GSAT ขั้นต่ำ 1000 คะแนน

A- Level (ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน)

 

รอบ Inter Program Admission 2 (3 ที่นั่ง) : 25 พ.ค. –6 มิ.ย. 68

ยังไม่เปิดสมัครทางออนไลน์ผ่านแบบฟอร์ม

คะแนนสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษขั้นต่ำ

   TU-GET 500 คะแนน/TU-GET CBT 74 คะแนน 

   IELTS 6.0 

   TOEFL (paper-based) 500 คะแนน หรือ 

   TOEFL (internet-based) 61 คะแนน

คะแนนการทดสอบความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ SAT I (EBRW) หรือ GSAT (Reading, Writing and Language) ขั้นต่ำ 450 คะแนน

คะแนนสอบ SAT I (Math) หรือ GSAT (Math) ขั้นต่ำ 600

หรือคะแนนสอบรวมทั้งสองพาร์ท SAT I หรือ GSAT ขั้นต่ำ 1000 คะแนน

A- Level (ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน)


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

Tel. 02-613-2852

Email: ppe.tu.international@gmail.com

Facebook: PPE Inter TU

Instagram: PPEInterTU 


วิธีการสมัคร

กรอกใบสมัคร อัปโหลดเอกสารประกอบการสมัครและสำเนาหลักฐานการโอนเงินพร้อมกับการส่งใบสมัครในระบบ

1) สำเนาใบระเบียนหรือใบรับรองว่ากำลังเรียนภาคการเรียนสุดท้าย 1 ฉบับ

2) สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ

3) ใบรายงานผลการศึกษาที่สถาบันเดิมออกให้อย่างเป็นทางการ ต้นฉบับพร้อมสำเนา 1 ฉบับ (กรณีเทียบโอน)

4) ผลคะแนนภาษาอังกฤษและผลทดสอบความรู้วิชาการ

5) หลักฐานการชำระเงินค่าสมัครสอบ

กรุณารวมเป็นไฟล์เดียวและเรียงตามลำดับด้านบน ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB

ชำระค่าสมัครสอบ 1,000 บาท โดยโอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 905-0-09452-4

ชื่อบัญชี วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ. (PPE Inter)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 https://tinyurl.com/ppeip68annoucment

 

4. คณาจารย์ประจำหลักสูตร
รองศาสตราจารย์ ดร. ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา

E-Mail :  tatcsu@staff.tu.ac.th

ดาวน์โหลด CV : รองศาสตราจารย์ ดร. ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา
 website :  https://sites.google.com/view/dr-tatchalerm-tu/
 
 
รองศาสตราจารย์ พ.ต.ต. ดร. ชวนัสถ์ เจนการ

E-Mail : Chaowanview@hotmail.com

ดาวน์โหลด CV : รองศาสตราจารย์ พ.ต.ต. ดร. ชวนัสถ์ เจนการ
 
 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธันยพร สุนทรธรรม

E-Mail : mtansoo@staff.tu.ac.th; main.tan.soo@gmail.com

ดาวน์โหลด CV : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธันยพร สุนทรธรรม
 
 
 
อาจารย์ พนมกร โยทะสอน

E-Mail : phanomkorn.y@gmail.com

ดาวน์โหลด CV : อาจารย์ พนมกร โยทะสอน
 
 
 
6.Student Handbook 2565 - 2566