ด้วยสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งภายในและระหว่างประเทศได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าและมีความสลับซับซ้อนขึ้นอย่างมาก ปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ก็มีความยุ่งยาก ซับซ้อน คาบเกี่ยว และมีความละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่จะเห็นได้ว่าภาคเหนือของประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ทรัพยากร เป็นต้น รวมทั้งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กัน จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างสาขาที่มีความหลากหลายเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจ อธิบาย วิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งเชิงรับและเชิงรุกให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาประเทศ เช่น องค์ความรู้จากสาขาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เป็นการพัฒนาภายใต้แนวคิดหลักสูตรข้ามศาสตร์ (Frontier Curriculum) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก และทิศทางการพัฒนาของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ที่มุ่งก้าวข้ามความท้าทายด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การพัฒนาของดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น การเป็นสังคมสูงวัยของประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก การผันผวนทางเศรษฐกิจและการเมืองอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอันเป็นแนวคิดการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” มุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งในมิติของการมีปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ การมีสภาพแวดล้อมที่ดี การมีปัจจัยสนับสนุนให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ การมีโอกาสใช้ศักยภาพของตนในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และการส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไป นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต การให้บริการ และการบริโภค เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในปัจจุบัน
รอบที่ 1 Portfolio วันที่ 5-26 พฤศจิกายน 2567 จำนวนรับ 80 คน
สมัครที่ www.tuadmissions.in.th
คุณสมบัติ
1.กำลังศึกษาชั้น ม.6
2.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.
3.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ
4.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ
เกณฑ์การคัดเลือก
Portfolio แฟ้มผลงานทางด้านสังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ (ค่าน้ำหนัก 100%)
1. มี Portfolio แฟ้มผลงาน ประวัติ, ทำกิจกรรมหรือผลงานด้านที่เกี่ยวข้องทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือ อื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยมีหลักฐานประกอบกิจกรรมหรือหนังสือรับรองผลงาน นั้นๆ
(ค่าน้ำหนัก 80%)
2. ผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ (ค่าน้ำหนัก 20%)
3. การพิจารณาและตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
รอบที่ 2 Quota วันที่ 3-18 มีนาคม 2567 จำนวนรับ 8 คน
สมัครที่ www.tuadmissions.in.th
คุณสมบัติ
1.กำลังศึกษาชั้น ม.6
2.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.
3.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ
4.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ
5.อยู่ในเขตพื้นที่โรงเรียนภาคกลาง 12 จังหวัด
เกณฑ์การคัดเลือก
คะแนน A-Level 100 คะแนน
1.สังคมศึกษา (40%)
2.ภาษาไทย (30%)
3.อังกฤษ (30%)
รอบที่ 3 Admission วันที่ 6-12 พฤษภาคม 2568 จำนวนรับ 30 คน
สมัครที่ mytcas.com
คุณสมบัติ
1.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.
2.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ
3.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ
เกณฑ์การคัดเลือก
คะแนน A-Level 100 คะแนน
1.สังคมศึกษา (40%)
2.ภาษาไทย (30%)
3.อังกฤษ (30%)