Loading...

01. ความเป็นมาของหลักสูตร

     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นโดยยึดมั่นในปณิธานการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมและประชาชน ลักษณะเด่นของหลักสูตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในช่วงแรกที่เรียกกันว่า หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ก็คือ การเป็นหลักสูตรที่ศึกษาครอบคลุมศาสตร์สาขาต่างๆ มากกว่าหนึ่งสาขา ซึ่งเอื้ออำนวยให้บัณฑิตมีองค์ความรู้และมุมมองที่กว้างขวาง และสามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการทำงานที่หลากหลาย รวมทั้งมีพื้นฐานความรู้ที่เพียงพอในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

     ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายแห่งได้จัดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics – PPE) โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีความรู้และทักษะทางความคิดที่เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันซึ่งมีความซับซ้อน (complexity) และการพึ่งพากันและกัน (interdependency) และจำเป็นต้องอาศัยความรู้จากศาสตร์ต่างสาขาที่เป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และแก้ปัญหาของสังคมและประเทศ

     เมื่อพิจารณาจากปณิธานเมื่อแรกตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงความจำเป็นในโลกปัจจุบันตามที่กล่าวมาข้างต้น วิทยาลัยสหวิทยาการจึงเห็นควรจัดให้มีหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ขึ้น โดยจุดเด่นของหลักสูตรคือ การบูรณาการองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ เข้ามาในการเรียนการสอน เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจสภาวะของโลกยุคปัจจุบัน ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย และพื้นฐานทางปรัชญา ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีลักษณะสหวิทยาการให้เท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าวเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ


03. การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา

รอบที่ 1 Portfolio แฟ้มสะสมผลงาน (40 ที่นั่ง) : 5-26 พฤศจิกายน 2567

สมัครที่ www.tuadmissions.in.th 

คุณสมบัติ

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

  • เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • เป็นผู้เทียบวุฒิความรู้ต่างประเทศ หรือ เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ
  • โรงเรียนในประเทศไทย
  • ปวช, กศน.

หน่วยกิตกลุ่มสาระขั้นต่ำ ตลอดหลักสูตร

  • ไม่กำหนด

คะแนน GPAX ขั้นต่ำ (4-5 ภาคการศึกษา)

  • 75

เกณฑ์คุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ

  • ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษา
  • ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดีหรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

 

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ค่าน้ำหนัก 100%)

  • มีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio ตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ประวัติ, การทำกิจกรรมหรือผลงานด้านที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ หรือด้านสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักฐานประกอบกิจกรรมหรือหนังสือรับรองผลงานนั้นๆ พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่

          - กิจกรรมทางวิชาการ: เป็นกิจกรรมเข้าแข่งขัน/ประกวด ที่ได้รางวัลที่ไม่ได้มอบโดยโรงเรียนต้นสังกัด หรือได้รับรางวัลในระดับจังหวัด/มหาวิทยาลัย/ระดับภูมิภาค/ระดับชาติ

          - กิจกรรมทางสังคม: เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม โดยเป็นผู้นำกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมหลัก หรือมีบทบาทโดดเด่นเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมที่สร้างพลวัตรและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

โดยต้องทำเป็นไฟล์ PDF ที่สามารถอ่านรายละเอียดทุกอย่างได้ชัดเจน

  • ผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ
  • เรียงความ

หัวข้อ "ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ มีบทบาทอย่างไรต่อการขับเคลื่อนสังคมและประเทศไทย” ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4 โดยใช้ฟอนต์ Angsana New ขนาดตัวอักษร 16

(การพิจารณาและตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)

 

รอบที่ 3 Admission แฟ้มสะสมผลงาน (37 ที่นั่ง) : วันที่ 6-12 พฤษภาคม 2568

สมัครที่ mytcas.com

คุณสมบัติ

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                                       

ปวช. , กศน.  

เป็นผู้เทียบวุฒิความรู้ต่างประเทศ หรือ เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติโรงเรียนในประเทศไทย       

หน่วยกิตกลุ่มสาระขั้นต่ำ ตลอดหลักสูตร

ไม่กำหนด

คะแนน GPAX ขั้นต่ำ

2.50             

สุขภาพ ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษาไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดีหรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

เกณฑ์การคัดเลือก

องค์ประกอบและค่าน้ำหนักแต่ละวิชาที่ใช้ในการคัดเลือกรวม 100 คะแนน ดังนี้

 คะแนน A-Level รหัส 62 วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน)    ค่าน้ำหนัก 30%

 คะแนน A-Levelรหัส 70 วิชาสังคม    ค่าน้ำหนัก 35% และต้องมีคะแนน T-score ไม่ต่ำกว่า 10 คะแนน

 คะแนน A-Levelรหัส 82วิชาภาษาอังกฤษ  ค่าน้ำหนัก 35% และต้องมีคะแนน T-score ไม่ต่ำกว่า 10 คะแนน

 หมายเหตุ: เฉพาะคะแนนขั้นต่ำคิดในรูปแบบ T-score

** ทั้งนี้การพิจารณา และตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

 

 

 

04. คณาจารย์ประจำหลักสูตร
รองศาสตราจารย์ ดร. จุฬณี ตันติกุลานันท์

E-Mail : ihaveonefish@hotmail.com, chulanee.tan@gmail.com

ดาวน์โหลด CV : รองศาสตราจารย์ ดร. จุฬณี ตันติกุลานันท์
 
 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพล แสงอรุณ

E-Mail : nattapon_s@tu.ac.th

ดาวน์โหลด CV : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพล แสงอรุณ
 
 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาณิศา วิชุพงษ์

E-Mail : vpanisa@gmail.com

ดาวน์โหลด CV :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาณิศา วิชุพงษ์
 
 
 
อาจารย์ ดร. อรณิชา เมี่ยงบัว

E-Mail : Meangbuaonicha@gmail.com

ดาวน์โหลด CV : อาจารย์ ดร. อรณิชา เมี่ยงบัว
 
 
 
อาจารย์ ดร.นุชรี งศ์สมุท 

E-Mail : n_wongsamut@hotmail.com

ดาวน์โหลด CV : อาจารย์ ดร. นุชรี วงศ์สมุท
 
 
 
06. ตารางบรรยาย-ตารางสอบ
08. ดาวน์โหลดเอกสาร-แบบฟอร์ม

แบบฟอร์ม

09.คู่มือนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567