หลักสูตรสตรีศึกษาในระดับปริญญาโท เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร (ส.บ.อ.) และโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา ที่เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้มีหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาสตรีศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยในช่วงเวลานั้น ยังไม่มีการเปิดหลักสูตรดังกล่าวในมหาวิทยาลัยใดเลย ประกอบกับสภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสตรีและเยาวชนได้ทวีความรุนแรงและสลับซ้บข้อนมากขึ้น ดังนั้น จึงมีการยกร่างหลักสูตรควบคู่กันไปกับการจัดกิจกรรมอื่นๆ ของโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา เช่น การจัดประชุมวิชาการประเพณีสตรีศึกษาและการจัดทำวารสารวิชาการด้านสตรีศึกษา
สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตร โดยอยู่ในรูปแบบโครงการพิเศษ ตามระเบียบโครงการบริหารสังคมของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเริ่มต้นเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2544 โดยใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค ภายใต้การบริหารงานระหว่างสำนักบัณฑิตอาสาสมัครกับโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา
นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 เป็นต้นมา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา มีการปรับปรุงฉบับปี 2550 และย้ายมาอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของวิทยาลัยสหวิทยาการ โดยความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยฯ ซึ่งขณะนี้มีการปรับหลักสูตรฯ ที่มีการเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาใหม่ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2556 เป็นสาขาวิชาสตรี เพศสถานะและเพศวิถีศึกษา และปรับเป็นโครงการปกติภาคค่ำ (แบบเรียนนอกเวลาราชการ)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะ ดังนี้
1. มีความสนใจในงานพัฒนาสตรี และต่อสู้เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางด้านเพศสถานะและเพศวิถีในสังคม
2. เพื่อสามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ปรากฏการณ์ทางสังคมว่าด้วยประเด็นสตรี เพศสถานะ และเพศวิถี โดยมุ่งหวังว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกลุ่มคนเพศสถานะต่างๆ ที่สะท้อนผ่านปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอันสลับซับซ้อน ซึ่งมหาบัณฑิตจะสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งมีศักยภาพในการสร้างงานของตนเองหรือศึกษาต่อในระดับสูง
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ตลอดหลักสูตร (4 ภาคการศึกษาปกติ) ประมาณ 73,640 บาท
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
คณะกรรมการรับเข้าจะพิจารณาคุณสมบัติตามใบสมัคร และการสอบคัดเลือกผู้เข้าศึกษาจากข้อเสนองานวิจัย (Research Proposal) และการสอบสัมภาษณ์
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี โดยไม่จำกัดสาขาจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
2. มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553 ข้อ 7
3. มีผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
อนึ่ง หากผู้สมัครยังไม่เคยทดสอบภาษาอังกฤษสามารถสมัครสอบ TU-GET ที่สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
🔻เปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 (รอบที่ 2) 📌 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2567 📌 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 📌 กำหนดการสอบสัมภาษณ์ วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 *** การศึกษาภาคปกติไม่เต็มเวลา นอกเวลาราชการ (วันธรรมดา 17.30 น. – 20.30 น. และวันเสาร์ 9.00 น. – 16.00 น.) *** ค่าธรรมเนียมการศึกษา (แบบเหมาจ่าย) ภาคการศึกษาละ 18,410 บาท รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (4 ภาคการศึกษา) 73,640 บาท คลิกที่นี่!!! ดาวน์โหลดประกาศรายละเอียด ดาวน์โหลดใบรับสมัคร |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปกครอง บุญ-หลง E-Mail : ggkino888@hotmail.com ดาวน์โหลด CV : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปกครอง บุญ-หลง | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกฤตยา จักรปิง E-Mail : sukrittaya_jukping@hotmail.com, sjukping@tu.ac.th ดาวน์โหลด CV : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกฤตยา จักรปิง | |
อาจารย์ ดร. โกสุม โอมพรนุวัฒน์ E-Mail : kosum_o@hotmail.com; kosum@tu.ac.th ดาวน์โหลด CV : อาจารย์ ดร. โกสุม โอมพรนุวัฒน์ | |
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
แบบฟอร์ม
แบบฟอร์ม สว. คำร้องทั่วไป
|
|
|
|
|
แบบฟอร์ม สต. คำร้องเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าอิสระ (สารนิพนธ์)
|
|
|
|
|
|
|
|