Loading...

01. ความเป็นมาของหลักสูตร

                เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าและมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้านั้น ปัญหาต่างๆ    ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพิ่มทวีขึ้น มีความยุ่งยากซับซ้อนคาบเกี่ยวและมีความละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่จะเห็นได้ว่าภาคเหนือของประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ทรัพยากร เป็นต้น รวมทั้งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กัน จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างสาขาที่มีความหลากหลายเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจ อธิบาย วิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งเชิงรับและเชิงรุกให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาประเทศ เช่น องค์ความรู้จากสาขาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น และเนื่องจากโลกของการศึกษาในปัจจุบันต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงต้องให้ผู้ศึกษาสามารถออกแบบอาชีพของผู้ศึกษาได้ด้วยตนเองจากศาสตร์ดังกล่าว

                 ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังยึดมั่นในพันธกิจเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐในการขยายโอกาสทางการศึกษาออกสู่ภูมิภาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่ง   ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเห็นควรจัดให้มีหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตขึ้น โดยจุดเด่นของหลักสูตร คือ การบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ เข้ามาในการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อผลิตบัณฑิต ที่มีคุณภาพ และศักยภาพในเชิงสหวิทยาการออกไปรับใช้ประชาชนและสังคม ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ที่มีลักษณะ สหวิทยาการให้เท่าทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อการพัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ   ในระดับภูมิภาคและระดับชาติต่อไป

                ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายในการจัดทำหลักสูตรรูปแบบ Thammasat Frontier  Curriculum ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะแห่งอนาคต (Future Competency)    โดยปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) เป็น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสหวิทยาการ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)  โดยวิทยาลัยสหวิทยาการเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานรวมทั้งวิชาเอกต่างๆ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ เปิดวิชาเอกร่วมในหลักสูตรด้วย  และในปัจจุบันมีจำนวน 7 สาขาวิชาเอก ได้แก่

                1.จีน-โลกศึกษา

                2.นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

                3.การจัดการการท่องเที่ยว

                4.การจัดการทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรม

                5.การบูรณาการเพื่อความยั่งยืน

                6.ออกแบบนวัตกรรมสังคม

                7.ออกแบบหัตถอุตสาหกรรม


03. การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา

รอบที่ 1 Portfolio   วันที่ 5-26 พฤศจิกายน 2567  

สมัครที่ www.tuadmissions.in.th

รูปเเบบที่ 1  จำนวนรับ  50 คน

คุณสมบัติ

1.กำลังศึกษาชั้น ม.6

2.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

3.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

4.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

เกณฑ์การคัดเลือก

รูปแบบที่ 1 Portfolio แฟ้มผลงานทางด้านสังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์  (ค่าน้ำหนัก 100%)     

1. มี Portfolio แฟ้มผลงาน ประวัติ, ทำกิจกรรมหรือผลงานด้านที่เกี่ยวข้องทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือ อื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยมีหลักฐานประกอบกิจกรรมหรือหนังสือรับรองผลงาน นั้นๆ

(ค่าน้ำหนัก 80%)  

2. ผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ (ค่าน้ำหนัก 20%)

3. การพิจารณาและตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

รูปแบบที่ 2  จำนวนรับ 5 คน 

คุณสมบัติ

1.กำลังศึกษาชั้น ม.6

2.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

3.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

4.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

5.ไม่มีอาการตาบอดสี

เกณฑ์การคัดเลือก

รูปแบบที่ 2 Portfolio แฟ้มผลงานทางด้านทัศนะศิลปะและการออกแบบ  (ค่าน้ำหนัก 100%)     

1.มี Portfolio แฟ้มผลงานด้านทัศนศิลปะและการออกแบบ  (ผลงานด้านศิลปะ : รวบรวมผลงานที่เกี่ยวกับทางศิลปะและออกแบบ(Art and Design portfolio)  (ค่าน้ำหนัก 80%)     

2. ผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ (ค่าน้ำหนัก 20%)

3. การพิจารณาและตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

 

รอบที่ 2 Quota  วันที่ 3-18 มีนาคม 2568

สมัครที่ www.tuadmissions.in.th

รูปเเบบที่ 1   A-Level   จำนวนรับ 20 คน

คุณสมบัติ

1.กำลังศึกษาชั้น ม.6

2.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

3.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

4.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

5.อยู่ในเขตพื้นที่โรงเรียนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนน A-Level  100 คะแนน

   1.สังคมศึกษา                       (40%)

   2.ภาษาไทย                         (30%)

   3.อังกฤษ                              (30%)

รูปแบบที่ 2  A-Level+TPAT2  จำนวนรับ   5 คน (รวมกับรูปเเบบที่ 2)

คุณสมบัติ

1.กำลังศึกษาชั้น ม.6

2.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

3.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

4.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

5.อยู่ในเขตพื้นที่โรงเรียนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

6.ตาไม่บอดสี

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนน A-Level+TPAT2

   1.ความถนัดทางศิลปกรรมฯ (60%)

   2.สังคม               (20%)

   3.ภาษาไทย         (10%)

   4.อังกฤษ             (10%)

รูปแบบที่ 3  คะแนนข้อเขียนเฉพาะ

คุณสมบัติ

1.กำลังศึกษาชั้น ม.6

2.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

3.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

4.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

5.อยู่ในเขตพื้นที่โรงเรียนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

6.ตาไม่บอดสี

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนนข้อเขียนวิชาเฉพาะ

1.วิชาวาดเส้นเพื่อการออกแบบ                 50 คะแนน
2.วิชาความถนัดออกแบบหัตถอุตสาหกรรม   50 คะแนน

ข้อมูลการสอบข้อเขียนวิชาเฉพาะ มธ.

มธ. เปิดรับสมัครสอบวันที่ 3-18 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ www.tuadmissions.in.th

1.วิชาวาดเส้นเพื่อการออกแบบ                

    สอบวันที่ 23 มีนาคม 2568  เวลา 09.00-12.00 น. ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
2.วิชาความถนัดออกแบบหัตถอุตสาหกรรม  

    สอบวันที่ 23 มีนาคม 2568  เวลา 13.00-16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

รอบที่ 3 Admission  วันที่  6-12 พฤษภาคม 2568  

สมัครที่ mytcas.com

รูปแบบที่ 1 A-Level  จำนวนรับ 25 คน

คุณสมบัติ

1.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

2.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

3.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนน A-Level  100 คะแนน

   1.สังคมศึกษา                       (40%)

   2.ภาษาไทย                         (30%)

   3.อังกฤษ                             (30%)

รูปแบบที่  2   A-Level+TPAT2   จำนวนรับ 10 คน (ร่วมรับรูปเเบบที่ 3 )

คุณสมบัติ

1.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

2.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

3.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

4.ตาไม่บอดสี

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนน A-Level+TPAT2   100 คะแนน

   1.ความถนัดทางศิลปกรรมฯ  (60%)

   2.สังคมศึกษา                       (20%)

   3.ภาษาไทย                         (10%)

   4.อังกฤษ                             (10%)

รูปเเบบที่ 3  TPAT21

คุณสมบัติ

1.จบการศึกษา ม.ปลาย/กศน./ปวช.

2.เทียบวุฒิความรู้หลักสูตรนานาชาติ

3.ไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ

4.ตาไม่บอดสี

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนน TPAT21  ทัศนศิลป์ (100%)

 

05. รายวิชาที่เปิดสอน ตารางบรรยาย-ตารางสอบ ประจำปีการศึกษา 2567

1.รายวิชาที่เปิดสอน ชั้นปีที่ 1-2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
(หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ IS)


 

2. รายวิชาที่เปิดสอน ชั้นปีที่ 3-4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
(หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ SI)


   

ตารางบรรยาย ภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2567 (์พร้อมห้องเรียน) 

ตารางสอบ

07. ประกาศ และข้อมูลอื่นๆ

 -

 
08. ดาวน์โหลดเอกสาร-แบบฟอร์ม

ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ

แบบฟอร์ม

  • แบบฟอร์มจดหมายลาป่วย/ลากิจ (PDF/Word)

เอกสารแจ้งจบ

11.แบบประเมินการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์

-