หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการมุ่งสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการระดับสูง ผลิตนักวิชาการที่มีความรู้ในศาสตร์หลายแขนง ให้เป็นผู้ที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่เป็นสหวิทยาการในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์ วิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้ อีกทั้งยังมุ่งผลิตนักวิชาการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมจริยธรรม และมีส่วนในการสร้างทางเลือกหรือหาทางออกให้แก่สังคม
1. ความสำคัญของหลักสูตร
สภาวการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทยและโลกในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ที่จะทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ได้ด้วยศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ การจัดการศึกษาที่เป็นสหวิทยาการ โดยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากศาสตร์หลายแขนงทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจึงมีความจำเป็น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงวิชาการและในเชิงนโยบายที่สามารถแก้ปัญหาและออกแบบแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้
2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้ดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรมีลักษณะดังนี้
2.1 เป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญระดับสูง มีศักยภาพในการบูรณาการความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาการ มีความสามารถในการทำความเข้าใจและจัดการกับปัญหาหรือปรากฏการณ์ทางสังคมได้ และมีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ
2.2 มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม และเป็นผู้ที่มีส่วนในการสร้างทางเลือกหรือหาทางออกให้กับสังคม
ระยะเวลาการศึกษา
เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา เรียนในวันเวลาราชการ ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษาและอย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษา เรียนในวันและเวลาราชการ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
นักศึกษาไทย
ภาคการศึกษาละประมาณ 73,000 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 438,000 บาท
นักศึกษาต่างชาติ
ภาคการศึกษาละประมาณ 86,000 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 516,000 บาท
คุณสมบัติของผู้สมัคร
ระบบที่มีการศึกษารายวิชา
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาภายใน หรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
2. มีผลการศึกษาระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือเทียบเท่าหรือ เป็นผู้ที่คณะกรรมการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตฯ พิจารณาให้สมัครได้
3. มีผลสอบภาษาอังกฤษ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 550 หรือมีผลสอบ TOEFL หรือ IELTS ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสอบคัดเลือก
ระบบที่ไม่มีการศึกษารายวิชา (ทำวิจัยเพียงอย่างเดียว)
1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาภายใน หรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
2. มีผลการศึกษาระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือเทียบเท่าหรือ เป็นผู้ที่คณะกรรมการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตฯ พิจารณาให้สมัครได้
3. เป็นผู้ที่มีผลงานวิชาการตีพิมพ์อย่างน้อย 2 ชิ้น ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับจนถึงวันที่สมัคร ทั้งนี้ลักษณะของผลงานตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสอบคัดเลือก
4. ผู้สมัครต้องนำเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่มีแนวคิดและกรอบ การวิจัยที่ชัดเจน
5. หัวข้อวิจัยของผู้สมัครต้องแสดงให้เห็นถึงการสร้างองค์ความรู้ที่ เป็นสหวิทยาการ และมีความสอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตร
6. มีผลสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 550 หรือมีผลสอบ TOEFL หรือ IELTS ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสอบคัดเลือก
เอกสารประกอบการสมัคร
1. ประวัติผู้สมัครพร้อมติดรูปถ่ายขาวดำหรือสี ขนาด 1 นิ้ว 1 รูป จำนวน 1 ชุด ซึ่งต้องมีข้อมูลประกอบด้วย
1. ชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร
2. ตำแหน่งงาน/อาชีพปัจจุบัน
3. สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และ E-mail
4. ประวัติการศึกษา ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ระบุปีที่เข้าศึกษา ปีที่จบ และเกรดเฉลี่ย)
5. ประสบการณ์ทางวิชาการ (ถ้ามี)
2. สำเนาปริญญาบัตรหรือหนังสือสำคัญแสดงผลการสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รับรองสำเนาด้วยตนเอง
3. สำเนาใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโทอย่างละ 1 ชุด รับรองสำเนาด้วยตนเอง
4. สำเนาใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโทอย่างละ 1 ชุด รับรองสำเนาด้วยตนเอง
5. สำเนาใบแสดงผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET , TOEFL หรือ IELTS (ไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันที่สมัคร)
6. จดหมายรับรองความรู้ความสามารถทางวิชาการ จำนวน 2 ฉบับ (จากผู้รับรอง 2 คน)
7. Research Proposal ในเชิงสหวิทยาการที่คาดว่าจะทำเป็นวิทยานิพนธ์เมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษา ความยาวประมาณ 10-15 หน้า จำนวน 4 ชุด ซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. ชื่อผู้เสนอ
3. หลักการและเหตุผล
4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
5. ขอบเขตการวิจัย
6. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
7. ระเบียบวิธีวิจัย
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9. เอกสารอ้างอิง
8. สำหรับผู้สมัครในระบบไม่มีการศึกษารายวิชา ต้องมีเอกสารแสดง ผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 2 ชิ้น (ไม่เกิน 5 ปี นับจนถึง วันที่สมัคร)
การรับสมัครปีการศึกษา 2567
ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ ปีการศึกษา 2567
ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง รายชื่อผู้สิทธิ์สอบสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567
ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์และมีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2567
ศาสตราจารย์ ดร. สิทธิพล เครือรัฐติกาล E-Mail : ajarnko@tu.ac.th ดาวน์โหลด CV : ศาสตราจารย์ ดร. สิทธิพล เครือรัฐติกาล | |
รองศาสตราจารย์ ดร. ภาคภูมิ ทิพคุณ E-Mail : phakpoom@tu.ac.th ดาวน์โหลด CV : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาคภูมิ ทิพคุณ | |
รองศาสตราจารย์ ดร. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี E-Mail : sustarum@tu.ac.th ; sastarum@gmail.com ดาวน์โหลด CV : รองศาสตราจารย์ ดร. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี | |
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
แบบฟอร์ม
|
|
ประกาศทุนสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2567