Loading...

01. ความเป็นมาของหลักสูตร

                เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งภายในและระหว่างประเทศได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าและมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้านั้น ปัญหาต่างๆ    ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพิ่มทวีขึ้น มีความยุ่งยากซับซ้อนคาบเกี่ยวและมีความละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่จะเห็นได้ว่าภาคเหนือของประเทศไทยเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ทรัพยากร เป็นต้น รวมทั้งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กัน จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างสาขาที่มีความหลากหลายเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจ อธิบาย วิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งเชิงรับและเชิงรุกให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาประเทศ เช่น องค์ความรู้จากสาขาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น และเนื่องจากโลกของการศึกษาในปัจจุบันต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงต้องให้ผู้ศึกษาสามารถออกแบบอาชีพของผู้ศึกษาได้ด้วยตนเองจากศาสตร์ดังกล่าว

                 ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังยึดมั่นในพันธกิจเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐในการขยายโอกาสทางการศึกษาออกสู่ภูมิภาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่ง   ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเห็นควรจัดให้มีหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตขึ้น โดยจุดเด่นของหลักสูตร คือ การบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ เข้ามาในการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อผลิตบัณฑิต ที่มีคุณภาพ และศักยภาพในเชิงสหวิทยาการออกไปรับใช้ประชาชนและสังคม ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ที่มีลักษณะ สหวิทยาการให้เท่าทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อการพัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ   ในระดับภูมิภาคและระดับชาติต่อไป

                ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายในการจัดทำหลักสูตรรูปแบบ Thammasat Frontier  Curriculum ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะแห่งอนาคต (Future Competency)    โดยปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) เป็น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสหวิทยาการ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)  โดยวิทยาลัยสหวิทยาการเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานรวมทั้งวิชาเอกต่างๆ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ เปิดวิชาเอกร่วมในหลักสูตรด้วย  และในปัจจุบันมีจำนวน 7 สาขาวิชาเอก ได้แก่

                1.จีน-โลกศึกษา

                2.นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

                3.การจัดการการท่องเที่ยว

                4.การจัดการทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรม

                5.การบูรณาการเพื่อความยั่งยืน

                6.ออกแบบนวัตกรรมสังคม

                7.ออกแบบหัตถอุตสาหกรรม


03. การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา

 การรับสมัคร

   ตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครจาก

   https://tuadmissions.in.th/

   https://student.mytcas.com/

   https://www.reg.tu.ac.th

 
การรับสมัคร รอบที่ 3 Admission  

✅ศศ.บ.สหวิทยาการ (มธ.ศูนย์ลำปาง)
✅รับ TCAS รอบ 3 หลายที่นั่ง
✅รับเด็ก ซิ่ว/กศน./สามัญ ม.6/กศน./ปวช. /GED/และวุฒิ ม.6 อื่น ๆ
✅วุฒิศิลปศาสตรบัณฑิต หรือ ศศ.บ. (สาขาวิชาสหวิทยาการ)
✅จบได้ ใน 3 ปีครึ่ง
✅ฝึกงานต่างประเทศได้ 1 เทอม
✅ฝึกงานในองค์กรชั้นนำของไทยได้ 1 เทอม
✅เลือกวิชาเอก ถึง 6 สาขา
✅ไม่เอาคะแนน T-GAT,
T-PAT,และGPAX
✅เหมาจ่าย ไม่ถึง ยี่สิบ ใบเทา ต่อเทอม

 




05. รายวิชาที่เปิดสอน ตารางบรรยาย-ตารางสอบ ประจำปีการศึกษา 2566

1.รายวิชาที่เปิดสอน ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
(หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ)


 

2. รายวิชาที่เปิดสอน ชั้นปีที่ 2-4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
(หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์)


   

ตารางบรรยาย ภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 (์พร้อมห้องเรียน) (์New!!)

ตารางสอบ

07. ประกาศ และข้อมูลอื่นๆ

 -

 
08. ดาวน์โหลดเอกสาร-แบบฟอร์ม

ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ

แบบฟอร์ม

เอกสารแจ้งจบ

11.แบบประเมินการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์

-